ขุนพลสาย INFORMATION TECHNOLOGY ตอนที่ 2 DESIGNER ในแวดวง IT

ตอนที่ 1 เราได้พูดถึงสายงาน Programer ไปแล้วโดยคร่าวๆ มาถึงตอนที่ 2 ผมขอเปลี่ยนแนวแบบหักเหสุดๆ จะขอพูดถึงสายงานศิลปะด้าน IT กันบ้างนะครับ

ศิลปะด้าน IT จะมีหลายประเภท เยอะแยะมากมายกายกองแต่เมื่อถึงเวลาแบ่งกันจริงๆก็จะถูกแบ่งออกมาได้เเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆด้วยกัน นั่นก็คือ 1. ออกแบบด้านความสวยงาม (UI Designer) และ 2. การออกแบบด้านการใช้งาน (UX Designer). หลายคนอาจจะงงสงสัยว่า อ้าว! แล้วมันไม่ใช่งานงานเดียวกันหรอกหรอ? ตอบง่ายๆสั้นๆครับ ไม่ใช่ครับผม

งานในสายนี้ยังจะต้องพึ่งจะเข้ามาเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดเมื่อประมาณไม่ถึง 20 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น เนื่องจากสมัยก่อน Computer เป็นอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์คำนวนผลสำหรับเหล่าเนิร์ด (Nerd) เท่านั้น ซึ่งคนเหล่านี้ในสมัยนั้นจะไม่นิยมความสวยงามเนื่องจากการเขียนโปรแกรมในสมัยนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากและใช้เวลานานมาก ทำให้พวกเขาไม่มีเวลามานั่งเขียนโปรแกรมให้ออกมาสวยงาม ดูดี หรือน่าใช้ อีกอย่างคือความสวยงามใช้เนื้อที่ในคอมพิวเตอร์สูง พวกเขาจึงยิ่งไม่มีความรู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้มีความจำเป็นอยู่เลย จนกระทั่ง20ปีที่ผ่านมานี้ ที่คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาจนสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น มีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากขึ้น และต้องเข้าตลาดแมส (Mass) มากขึ้น Softwareและสื่อทั้งหลายในโลกDigitalจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสวยงามขึ้น และดึงดูดให้คนมาใช้มาใช้มากขึ้น จึงได้กำเนิดงานสายนี้ขึ้นมา หลายคนอาจจะมองข้ามไปแต่งานสายนี้มีความสำคัญมากพอๆกับการออกแบบ Interior ของพวกพระราชวังหรือศาลากลางเมืองในสมัยก่อนเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นงานออกแบบที่คนต้องมาเห็นมาใช้มากมายนับไม่ถ้วน

ถ้าลองสังเกตุดูให้ดีจะเห็นว่าทั้ง UX/UI Designer จะเป็นการทำงานจากประสบการณ์มากกว่าทฤษฎี และจะเป็นการเรียนรู้แบบสังเกตุและทดลองมากกว่าการอ่านหนังสือตามตำรา น้องๆที่อยากเป็น UX หรือ UI Designer จึงจำเป้นที่จะต้องมีความช่างสังเกตุ กล้าที่จะลอง และไม่ท้อที่จะเริ่มใหม่ เพราะบอกได้เลยว่างานสายนี้จะได้ยินคำนี้บ่อยมา “ไม่ผ่านนะครับ เริ่มใหม่ตั้งแต่ต้นเลย” หรือ “ทำใหม่หมดเลยง่ายกว่า” และที่สำคัญงานประเภทนี้จะเปลี่ยนผันไปตามการเวลา อะไรที่สวยวันนี้อาจจะไม่สวยปีหน้า หรืออะไรที่ไม่สวยวันนี้แต่อาจจะเป็น master piece ในอีก 2 ปีข้างหน้า น้องๆที่สนใจด้านนี้จึงจะต้อง update ตัวเองอยู่เสมอ และต้องเชื่อมั่นในตัวเอง แต่ก็ต้องอิงตามข้อมูลที่ได้รับเช่นกัน แน่นอนว่างานนี้ไม่มีผิดมีถูก แต่ถ้าลูกค้าส่วนใหญ่บอกว่าผิด(ใช้อยาก ไม่สวย) เราก็ต้องยอมรับและแก้ไข หรือเราก็ต้องให้พวกเขาเห็นภาพว่าเมื่อทุกอย่างมันครบมันจะออกมาดีเอง