ขุนพลสาย INFORMATION TECHNOLOGY ตอนที่ 1 PROGRAMMER

หลายคนสับสนเข้าใจว่าฝ่าย IT มีหน้าที่เดียวคือซ่อม Printer หรือซ่อมเครื่องใช้งาน Electronic แต่ทราบหรือไม่ว่าหน้าที่เหล่านั้นเป็นเพียงแค่ 1% ของการทำงานของเหล่า Digital Workforce จริงๆแล้วคนใน IT ไม่จำเป็นต้องซ่อมอะไรเป็นด้วยซ้ำ เพราะพวกเราไม่ได้เกิดมาเพื่อซ่อมอะไรของใคร พวกเราเกิดมาเพื่อสร้าง สร้างอะไรหลายคนอาจจะงง หน้าที่ของพวกเราคือสร้างช่องทางให้ข้อมูลของพวกท่านทั้งหลายสามารถไหลเวียนไปในระบบได้อย่างราบรื่นนั่นรวมถึงสร้างวิธีใส่ แก้ไข และลบข้อมูลต่าง ไปยันจนสร้างวิธีให้ข้อมูลที่ท่านสร้างหรือที่ท่านต้องการรับให้ไปถึงอีกฝั่งได้อย่างรวดเร็วและเสถียรที่สุด อ่ะเริ่มกันเลยว่า Digital Workforce เนี่ยมีอะไรประมาณไหนบ้าง ( อาจจะรวมได้ไม่หมดนะครับเพราะอาชีพใหม่เกิดมาอย่างรวดเร็วมาก )

Programmer สายงานนี้เป็นสายงานที่จะต้องคุยกับคอมพิวเตอร์โดยตรง คือเป็นกลุ่มคนที่รู้จักและสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี รู้จักการเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์สามารถทำตามและประมวลผลข้อมูลได้ หน้าที่ของคนสายนี้คือ สามารถดูความต้องการของระบบ และเข้าใจว่าระบบจะต้องทำ A แล้วทำ B แล้วทำ C เพื่อให้เกิด D และเข้าใจว่าถ้ามีข้อผิดพลาดอะไรตรงไหนคอมพิวเตอร์จะต้องทำอย่างไร

คนในสายนี้จำเป็นที่จะต้องมีความอดทนและพากเพียรตลอดเวลา เนื่องจากการเรียนรู้ที่จะเขียนโปรแกรมไม่ใช่เรื่องอยาก แต่จะต้องใช้เวลาทำความรู้จักทำความเข้าใจวิธีการคิดของคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังจะต้องมีตรรกะที่ดี เนื่องจากการเขียนโปรแกรมนั้นเป็นเหมือนงานศิลปะที่ไม่ใช่ว่าใครเขียนก็ออกมาเหมือนกัน อาจจะจริงที่ใครเขียนก็สามารถได้ผลลัพท์ D ได้ แต่ความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการได้ผลลัพท์นั้นอาจจะต่างกันราวฟ้ากับดิน ยกตัวอย่างเช่น Search Engine ( Google ) ก่อที่จะมี Google ก็มี Website มากมายที่เป็น Search Engine ทำหน้าเหมือนที่ Google ทำเป๊ะ คือพิมสื่งที่ user ต้องการหา แล้วระบบจะคืนผลลัพท์มาให้ แต่ทำไม Google กัลประสบความสำเร็จกว่าชาวบ้านเขา? คำตอบคือ Google มีวิธีการคิดการเขียนระบบที่ดีกว่าเจ้าอื่น ทำให้ผลลัพท์ของการค้นหานั้นตรงตามที่คนหาต้องการมากกว่า จัดระดับผลลัพท์ได้ตรงกว่า และทำการค้นหาได้เร็วกว่า ทำให้คนที่เข้ามาใช้เสียเวลาน้อยกว่าในการหาข้อมูลเดียวกัน ทั้งหมดนี้คือศิลป์ของการเขียนโปรแกรม

ที่กล่าวมาข้างต้นเราจะเรียกหน้าที่ของโปรแกรมเมอเหล่านี้ว่า Backend Programmer เนื่องจากระบบ Software หรือ Website ที่เราใช้อยู่ทุกวันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คล้ายกับเครื่องเสียงวิทยุ ส่วนแรกคือ

น้องๆที่อนาคตอาจจะเหมาะกับงานประเภทโปรแกรมเมอร์ ต้องเป็นคนที่มองโลกเป็นเหตุและผล มากกว่าตามอารมณ์ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่มีอารมณ์ คอมพิวเตอร์รู้จักเพียงแค่ถ้าเป็นแบบนี้ให้ทำแบบนี้ ถ้าผลแบบนั้นให้ทำแบบนั้น หน้าที่ของเราคือการประยุคการทำงานและอารมณ์ของมนุษย์ลงไปให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานและตัดสินใจตามกฏเกณฑ์ที่เราตั้งไว้เท่านั้น ต้องเก่งเลขมั๊ยหรือวิทย์? เอาจริงๆ ไม่จำเป็นเลยครับ เรียนสายศิลป์มาก็เป็น Programmer ได้ จริงอยู่ที่ วิทยาศาสตร์คอม (Computer Science) จะต้องใช้เลขค่อนข้างเยอะระหว่างที่เรียน แต่เมื่อทำงานจริงๆ จะมีเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ้นของ Programmer ที่จะทำงานในด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ยังไงระหว่างเรียนก็ต้องอดทนและตั้งใจเรียนเลขครับ เพราะแท้จริงแล้วมันอาจจะเป็นสิ่งที่เราชอบก็ได้

แล้วจะเริ่มอย่างไรถ้าสนใจ? อันนี้เป็นคำถามที่ตัวเองคิดเสมอมาว่าตอนเด็กน่าจะมีคนสามารถตอบเราได้ชัดเจนกว่านี้ สิ่งแรกเริ่มที่สำคัญที่สุดเลยคือลงมือทำครับ ( Hand on experience ) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในหารเริ่มต้น พวกทฤษฎีค่อยๆตามเก็บในหมาลัยก็ได้ครับ สรุปเริ่มตรงไหน? แนะนำให้เริ่มจากการซื้อหนังสือมาก่อนครับ ในหนังสือจะมี link ให้ไปดาว์นโหลดโปรแกรมเพื่อนำไปเขียนโปรแกรมอีกที 5555